تجويدالقرآن : توان كوروحاج احمد بن حاج حسن لاخا سيبوري فطاني

Ahad, 29 Jun 2008

حكم ادغام

سورة البقرة : 25-30

وَبَشِّرِ الَّذِين آمَنُواْ وَعَمِلُواْ الصَّالِحَاتِ أَنَّ لَهُمْ جَنَّاتٍ تَجْرِي مِن تَحْتِهَا الأَنْهَارُ كُلَّمَا رُزِقُواْ مِنْهَا مِن ثَمَرَةٍ رِّزْقاً قَالُواْ هَـذَا الَّذِي رُزِقْنَا مِن قَبْلُ وَأُتُواْ بِهِ مُتَشَابِهاً وَلَهُمْ فِيهَا أَزْوَاجٌ مُّطَهَّرَةٌ وَهُمْ فِيهَا خَالِدُونَ

إِنَّ اللَّهَ لاَ يَسْتَحْيِي أَن يَضْرِبَ مَثَلاً مَّا بَعُوضَةً فَمَا فَوْقَهَا فَأَمَّا الَّذِينَ آمَنُواْ فَيَعْلَمُونَ أَنَّهُ الْحَقُّ مِن رَّبِّهِمْ وَأَمَّا الَّذِينَ كَفَرُواْ فَيَقُولُونَ مَاذَا أَرَادَ اللَّهُ بِهَـذَا مَثَلاً يُضِلُّ بِهِ كَثِيراً وَيَهْدِي بِهِ كَثِيراً وَمَا يُضِلُّ بِهِ إِلاَّ الْفَاسِقِينَ

الَّذِينَ يَنقُضُونَ عَهْدَ اللَّهِ مِن بَعْدِ مِيثَاقِهِ وَيَقْطَعُونَ مَا أَمَرَ اللَّهُ بِهِ أَن يُوصَلَ وَيُفْسِدُونَ فِي الأَرْضِ أُولَـئِكَ هُمُ الْخَاسِرُونَ

كَيْفَ تَكْفُرُونَ بِاللَّهِ وَكُنتُمْ أَمْوَاتاً فَأَحْيَاكُمْ ثُمَّ يُمِيتُكُمْ ثُمَّ يُحْيِيكُمْ ثُمَّ إِلَيْهِ تُرْجَعُونَ

هُوَ الَّذِي خَلَقَ لَكُم مَّا فِي الأَرْضِ جَمِيعاً ثُمَّ اسْتَوَى إِلَى السَّمَاء فَسَوَّاهُنَّ سَبْعَ سَمَاوَاتٍ وَهُوَ بِكُلِّ شَيْءٍ عَلِيمٌ

‏ وَإِذْ قَالَ رَبُّكَ لِلْمَلاَئِكَةِ إِنِّي جَاعِلٌ فِي الأَرْضِ خَلِيفَةً قَالُواْ أَتَجْعَلُ فِيهَا مَن يُفْسِدُ فِيهَا وَيَسْفِكُ الدِّمَاء وَنَحْنُ نُسَبِّحُ بِحَمْدِكَ وَنُقَدِّسُ لَكَ قَالَ إِنِّي أَعْلَمُ مَا لاَ تَعْلَمُونَ

Ahad, 22 Jun 2008

Miracle of Quran(บทสรุป)

Miracle of Quran (วิถีโคจร)

Miracle of Quran (หน้าที่ของภูเขา)

Miracle of Quran(ความลับของเหล็ก)

Miracle of Quran (การเคลื่อนตัวของภูเขา)

Miracle of Quran(น้ำทะเลไม่ผสมเข้าด้วยกัน)

Miracle of Quran (ลายพิมพ์นิ้วมือ)

Miracle of Quran(เพศของทารก)

Miracle of Quran(กล้ามเนื้อห่อหุ้มกระดูก)

Miracle of Quran(ทารกอยู่ในครรภ์3ระยะ)

Miracle of Quran(บอกอนาคต)

Miracle of Quran(หลังคาที่ถูกรักษาไว้)

Miracle of Quran(ท้องฟ้าที่มีระบบหมุนเวียน )

Miracle of Quran(มหัศจรรย์ของคำ)

Miracle of Quran(บทนำ)

ญุซอฺไหนอยู่หน้าไหนจะรู้ได้อย่างไร ?

จะรู้ได้อย่างไรว่าญุซอฺ(อัลกุรอาน)ไหนอยู่หน้าไหน ?

เรามี 2 วิธีให้คุณได้เลือก ดังนี้ :

วิธีแรก

มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. อาบน้ำละหมาดให้เรียบร้อย หรือถ้ามีน้ำละหมาดแล้วจะอาบอีกก็ไม่ว่ากัน

2. หยิบอัลกุรอานมาเล่มหนึ่ง

3. อยากรู้ว่าญุซอฺไหนอยู่หน้าไหนก็พลิกดูเอาเอง ... จบ

อะ อะ อะไรน่ะ ? วิธีนี้ไม่ปลื้มเลยเหรอ อย่าพึ่งหัวเสียไป งั้นลองมาดูวิธีที่สองกัน

วิธีที่สอง

เตรียมสมองท่องกฎนี้ให้ขึ้นใจ

“คูณสองลบสองเติมสอง”

อธิบายกฎ

1. คูณสอง คือ เอาญุซอฺที่ต้องการหาว่าอยู่หน้าไหนเอาไปคูณกับสอง

2. ลบสอง คือ เอาผลลัพธ์ที่ได้จากข้อง1 มาลบด้วยสอง

3. เติมสอง คือ เอาผลลัพธ์ที่ได้จากข้อ 2 มาเติมท้ายด้วยเลขสองข้างหลัง

ตัวอย่าง

ขณะที่นายอลีฟกำลังขับรถอยู่นั้น จู่ๆลูกน้อยของเขาก็ถามขึ้นมาว่า พ่อ พ่อ ญุซอฺที่20อยู่หน้าที่เท่าไรอ่ะ (เหอ ตอนไม่ขับรถก็ไม่ถาม ดันมาถามตอนนี้)

กรณีนี้หากคุณพ่อจะเลือกเอาวิธีแรก คงจะไม่โสภาสถาพรแน่ๆเลย เพราะกำลังขับรถอยู่ หรือถ้าขืนยังจะใช้อยู่ บางทีอาจจะ โศกเศร้าสภาพยับเยินแน่ๆเลย งั้นมาลองใช้วิธีที่สองดู

1. คูณสอง

20 คูณ 2 = 40

2. ลบสอง

40 ลบ 2 = 38

3. เติมสอง

38 = 382

ที่นี้คุณพ่อก็สามารถบอกลูกน้อยโดยไม่ต้องหยิบอัลกุรอานมาดูเลยว่า ญุซอฺที่20อยู่หน้าที่382 น่ะลูก

ปล.

1. กฎนี้สามารถใช้ได้เฉพาะอัลกุรอานที่จัดพิมพ์โดยศูนย์กษัตริย์ฟะฮดฺเพื่อการพิมพ์อัลกุอาน ณ นครมะดีนะฮฺ และสำนักพิมพ์อื่นๆที่มีการจัดเรียงหน้าเหมือนกับอัลกุรอานที่จัดพิมพ์โดยศูนย์กษัตริย์ฟะฮดฺ และโดยทั่วไปแล้วอัลกุรอานที่ถูกจัดพิมพ์จะมีการเรียบเรียงหน้าเหมือนกับอัลกุอานที่พิมพ์โดยศูนย์กษัตริย์ฟะฮดฺ

2. บางญุซอฺ หน้าจะไม่ตรงกับกฎข้อนี้(ส่วนน้อยเท่านั้น) แต่ก็ใกล้เคียง

คัดลอกจากเว็บไซต์ http://abir.igetweb.com/index.php?mo=3&art=24299

صفة حروف - ج,ح,خ,د,ذ


صفة حروف - أ,ب,ت,ث


مد واجب متصل







سورة البقرة 17 - 24


(17) مَثَلُهُمْ كَمَثَلِ الَّذِي اسْتَوْقَدَ نَاراً فَلَمَّا أَضَاءتْ مَا حَوْلَهُ ذَهَبَ اللّهُ بِنُورِهِمْ وَتَرَكَهُمْ فِي ظُلُمَاتٍ لاَّ يُبْصِرُونَ


(18) صُمٌّ بُكْمٌ عُمْيٌ فَهُمْ لاَ يَرْجِعُونَ


أَوْ كَصَيِّبٍ مِّنَ السَّمَاءِ فِيهِ ظُلُمَاتٌ وَرَعْدٌ وَبَرْقٌ يَجْعَلُونَ أَصْابِعَهُمْ فِي آذَانِهِم مِّنَ الصَّوَاعِقِ حَذَرَ الْمَوْتِ واللّهُ مُحِيطٌ بِالْكافِرِينَ (19)1


(20) يَكَادُ الْبَرْقُ يَخْطَفُ أَبْصَارَهُمْ كُلَّمَا أَضَاء لَهُم مَّشَوْاْ فِيهِ وَإِذَا أَظْلَمَ عَلَيْهِمْ قَامُواْ وَلَوْ شَاء اللّهُ لَذَهَبَ بِسَمْعِهِمْ وَأَبْصَارِهِمْ إِنَّ اللَّه عَلَى كُلِّ شَيْءٍ قَدِيرٌ


(21) يَا أَيُّهَا النَّاسُ اعْبُدُواْ رَبَّكُمُ الَّذِي خَلَقَكُمْ وَالَّذِينَ مِن قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُونَ


الَّذِي جَعَلَ لَكُمُ الأَرْضَ فِرَاشاً وَالسَّمَاء بِنَاء وَأَنزَلَ مِنَ السَّمَاءِ مَاءً فَأَخْرَجَ بِهِ مِنَ الثَّمَرَاتِ رِزْقاً لَّكُمْ فَلاَ تَجْعَلُواْ لِلّهِ أَندَاداً وَأَنتُمْ تَعْلَمُونَ


وَإِن كُنتُمْ فِي رَيْبٍ مِّمَّا نَزَّلْنَا عَلَى عَبْدِنَا فَأْتُواْ بِسُورَةٍ مِّن مِّثْلِهِ وَادْعُواْ شُهَدَاءكُم مِّن دُونِ اللّهِ إِنْ كُنْتُمْ صَادِقِينَ


فَإِن لَّمْ تَفْعَلُواْ وَلَن تَفْعَلُواْ فَاتَّقُواْ النَّارَ الَّتِي وَقُودُهَا النَّاسُ وَالْحِجَارَةُ أُعِدَّتْ لِلْكَافِرِينَ

Sabtu, 21 Jun 2008

เคล็ดลับในการท่องจำอัลกุรอ่าน

หลายคนอาจจะเคยพบ เคยได้ยิน เด็กเพียงอายุ 9 ขวบ หรือต่ำกว่านั้น เขาสามารถท่องจำอัลกุรอ่านได้ทั้งเล่ม สิ่งหนึ่งที่นอกเหนือจาก ความจำที่ดีที่อัลลอห์ ซ.บ ทรงประทานให้เขาแล้ว...ก็คือการคัดสรรค์ องค์ประกอบ สถานที่ และเวลาในการท่องที่ดีด้วย

เรามาเริ่มจากการเตรียมตัวกันก่อนเลยดีกว่าครับ

1. "ความสะอาดและจิตใจที่ดี"

- ตั้งเจตนาที่ดี ในการท่องจำกุรอ่าน เพื่ออัลลอห์ ซ.บ
- ทำตัวของเราให้สะอาด ด้วยกับการอาบน้ำละหมาด และสวมเสื้อผ้าที่สะอาด
- เลือกสถานที่เหมาะสมและห่างไกลจากสิ่งที่จะมารบกวน

2. “ พระมหาคำภีรอัลกุรอ่าน”

ควรจะเป็นอัลกุอ่านที่ที่มีลักษณะต่อไปนี้ ( มะดีนะห์ อัลมูเนาวาเรอะห์ )

- จบอายะห์ในแต่ละหน้าพอดี โดยไม่มีการต่อไปหน้าอื่น..( เพื่อง่ายในการท่องจำ )
- ในแต่ละหน้า จะมี 15 บรรทัด
- 20 หน้า จะเท่ากับ 1 ยูซ พอดี
- เล่มรูป ควรไม่ใหญ่ ไม่เล็กจนเกินไป ( สะดวกในการพกพา )

3. "ตัวช่วย"

- สมุด ปากกา หรือจะเป็นกระดานไวท์บอด ก็ได้
- เครื่องเล่นเทปคาสเซ็ท หรือ อาจจะเป็นเครื่องเล่นซีดี เอ็มพี 3 ตามแต่สะดวก
- หนังสือตัฟซีรอัลกุรอ่าน ฉบับย่อ
- คนในครอบครัว หรืออาจจะเป็นเพื่อนของเรา

หลังจากที่เราเตรียมตัวเสร็จแล้ว..เราก็มาเข้าสู่วิธี และขั้นตอนในการท่องเลย

พยายาม และตั้งใจว่า เราจะท่องให้ได้ 1 หน้า ภายใน 1 วัน ( สำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มต้น หรือน้องๆ ก็อาจจะ วันละ ครึ่งหน้าก็ได้ตามแต่สะดวก แต่ต้องทำให้ได้ทุกๆวัน ) หลังจากที่เราท่องได้ 5 หน้า ( สมมุติเราเริ่มท่องวันจันทร์ ถึง วันศุกร์ . ในวันเสาร์ และวันอาทิตย์ คือวันทบทวนของเรา ( นั้นก็หมายความว่า ใน 1 อาทิตย์ เราจะท่องได้ 5 หน้า พร้อมกับ การทวน ) ภายในเวลา 4 อาทิตย์ ( ประมาณ 1 เดือน ) เราก็จะท่องได้ 1 ยุซ ( 20 หน้า ) หลังจากนั้นเราก็ใช้เวลา 4 -5 วันนั้นการทบทวน ยุซนั้นๆ ทำไปเรื่อยๆ ท่านก็จะเป็นผู้ที่ท่องจำกุรอ่านได้ทั้งเล่ม หรือไม่มากก็น้อย

เคล็ดลับในการท่อง

1. ใช้อัลกุรอ่านในการท่องเพียงเล่มเดียว เพื่อความเคยชิน และติดตา

2. เราสามารถเลือกท่องได้ไม่จำเป็นต้องเรียงยูซ (1 - 2 - 3 ) แต่ต้องอยู่ในยุซเดียวกันเพื่อไม่ให้เกิดการสับสน

3. เลือกเวลาที่ว่างในการท่อง และทบทวนให้เหมาะสม ( อย่าพยายามท่องในขณะที่เรากำลังยุ่งอยู่ หรือมีสิ่งกวน - เวลาที่ดี หลังละหมาดซุบฮิ )

4. ใช้การเขียนเข้าช่วยในการท่องจำ ( เขียนอายะห์ที่ต้องการท่องลงในกระดาษหรือ กระดานไวท์บอด หรือจะใช้ การเปิดเทป เข้าช่วยก็ได้..)

5. พยายามจดจ่อกับหน้าที่เราต้องการจะท่อง

6. พยายามอ่านอัลกุรอ่าน อย่างช้าๆ อ่านให้ถูกหลักการอ่าน เพราะว่าถ้าเราเคยท่องแบบเร็วๆ พอเราจะอ่านให้ถูกตามหลัก เราจะท่องไม่ได้

7. หลังจากที่เราท่องได้แล้ว..ในช่วงของการทวน ก็พยายามหาคนในครอบครัว หรือไม่ก็เพื่อนของเรา แล้วท่องให้เขาฟัง หรือ การนำอายะห์ที่เราท่อง...ไปท่องในละหมาดก็เป็นอีกวิธี ที่ช่วยให้เราแม่นยำมากขึ้น

8. เพื่อเป็นการง่ายในการท่องจำ และความเข้าใจไปพร้อมๆกัน เราอาจจะท่องไปพร้อมกับหนังสือตัฟซีร( ภาษาไทย แบบสรุป )

9. สุดท้ายก็คือ เราจะต้องห่างไกลจากสิ่งที่จะนำพาไปสู่ความไม่ดีทั้งหมด พยายามขัดเกลาหัวใจของเราให้สะอาด เพื่อรองรับกับสิ่งที่ดีๆ...

บทความโดย พวกเราชาว tsam
คัดลอกจากกระทู้ในเว็บไซต์ http://www.pantip.com/
http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2006/11/Y4916762/Y4916762.html

อ่านอัลกุรอ่านที่กุโบร

การอ่านอัลกุรอานที่กุบูรนั้นเป็นประเด็นปัญหาข้อปลีกย่อยที่มีการโต้เถียงขัดแย้งกันมาก จนกระทั้งบางครั้ง นำไปสู่การทะเลาะและตัดขาดญาติมิตรกัน - วัลอิยาซุบิลลาห์ - การที่กลุ่มหนึ่งเชื่อว่าทัศนะของตนเท่านั้นที่ถูกต้อง และทำการตัดสินชี้ขาดหุกุ่มบรรดา มุสลิมมีนที่มีทัศนะต่างกับตนว่าทำบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลงนั้น ย่อมไม่มีแบบฉบับมาก จากอุลามาอ์สะละฟุศศอลิหฺและอุลามาอ์คอลัฟผู้มีความเชี่ยวชาญปราชเปรื่อง

อนึ่ง บรรดาปวงปราชน์แห่งโลกอิสลามมีมติเห็นพร้องกันว่า การอ่านอัลกุรอานที่กุบูรนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งที่หะรอม ผู้ที่กระทำก็ไม่ได้เป็นการกระทำบาป บรรดาอุลามาอ์ ส่วนมากจากมัซฮับหะนะฟียะฮ์ ชาฟิอียะฮ์ และหะนาบิละฮ์ มีทัศนะว่า สุนัตให้ทำการอ่านอัลกุรอานที่กุบูร, สำหรับ มัซฮับมาลิกียะฮ์นั้น

มีทัศนะว่า การอ่านอัลกุรอานที่กุบูรเป็นเพียงมักโระฮ์ แต่บรรดาอุลามาอ์มัซฮับมาลิกียะฮ์ ยุคหลังนั้นมีทัศนะว่า การอ่านอัลกุรอานที่กุบูร การซิกิร และฮะดียะฮ์ผลบุญให้แก่มัยยิดนั้น ถือว่าไม่เป็นไร และผู้ที่กระทำดังกล่าว ย่อมได้รับผลตอบแทนด้วย อินชาอัลเลาะฮ์

การอ่านอัลกุรอ่านที่กุบูรนั้น ไม่มีหลักฐานห้าม ยิ่งไปกว่านั้น การอ่านอัลกุรอานที่กุบูรเป็นสิ่งที่ถูกส่งเสริมให้กระทำ, ดังนั้น บรรดาหลักฐานจากอัลกุรอานและซุนนะฮ์มากมายที่บอกไว้อย่างชัดเจน ถึงความประเสริฐของการอ่านอัลกุรอาน โดยที่บรรดาหลักฐานต่างเหล่านั้น ได้ระบุความหมายอย่างครอบคลุมหรือแบบกว้างๆ โดยที่ไม่ได้เจาะจงหรือจำกัดเวลาและสถานที่ นอกจากสถานที่ไม่เหมาะสม เช่น ห้องน้ำ สถานที่เสี่ยงกับนะยิส เป็นต้น

ดังนั้น การอ่านอัลกุรอาน ไม่ว่าจะอ่านในบ้าน หรือที่กุบูร ย่อมถูกผนวกอยู่ในหลักฐานที่บ่งชี้แบบครอบคลุมหรือแบบกว้างๆ โดยพิจารณาว่า การอ่านอัลกุรอานที่บ้าน หรือ ที่กุบูร ก็คือการอ่านอัลกุรอานเหมือนกัน และสอดคล้องกับหลักฐานที่ส่งเสริมให้อ่านอัลกุรอาน ยิ่งไปกว่านั้น ก็ไม่มีหลักฐานห้ามที่จะมาคัดค้านหลักฐานที่อยู่ในรูปแบบมูลรวมหรือรูปแบบกว้างๆ นี้เลย ดังนั้น การอ่านอัลกุรอานในสถานที่หนึ่งสถานที่ใดนั้น ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน หรือ ที่กุบูร ก็ย่อมไม่มีผลใดในการห้ามให้อ่านอัลกุรอาน แถมยังเป็นสุนัตอีกด้วย

สำหรับผู้ที่คัดค้านเรื่องนี้ เขาจะต้องยกหลักฐานห้ามอ่านอัลกุรอานที่กุบูรมาอ้างอิง เพื่อมาหักล้างหลักฐานที่ครอบคลุมที่ส่งเสริมให้อ่านอัลกุรอาน หรือยกหลักฐานห้ามอ่านอัลกุรอานที่กุบูรมาจำกัดหลักฐานแบบกว้างๆ ที่ส่งเสริมให้อ่านอัลกุรอาน หรือให้นิ่งเสีย ซึ่งหากไม่เป็นเช่นนั้น เขาย่อมกลายเป็นผู้ที่ทำบิดอะฮ์ เนื่องจากตัดสินเกี่ยวกับเรื่องของศาสนา ด้วยใช้สติปัญญาและอารมณ์ของเขาเท่านั้น ดังนั้น แนวทางของผู้มีวิชาความรู้นั้น จะต้องใช้วิธีการหักล้างหลักฐานด้วยหลักฐาน สำหรับการหักล้างหลักฐาน ด้วยการอ้างว่าไม่รู้ไม่มีหลักฐานให้กระทำ หรือคาดการเอาว่ามันคงทำไม่ได้นั้น ย่อมเป็นแนวทางของผู้ที่ไม่ใช่นักวิชาการ

แต่ในทัศนะของเรานั้น มีหลักฐานที่มาเจาะจงให้อ่านอัลกุรอานที่กุบูรได้ เนื่องจากได้มีรายงานจากอิมามอะหฺมัด บิน หัมบัล ว่า ท่านได้เคยกล่าวว่า การอ่านอัลกุรอานที่กุบูรนั้น เป็นบิดอะฮ์ แต่หลังจากนั้น ท่านอิมามอะหฺมัด ก็ยกเลิกทัศนะดังกล่าวด้วยตัวท่านเอง มีอุลามาอ์กลุ่มหนึ่งจากบรรดาสานุศิษย์ของอิมามอะหฺมัดได้รายงานว่า

أن أحمد نهى ضريرا أن يقرأ عند القبر، وقال له : إن القرأءة عند القبر بدعة ، فقال له محمد بن قدامة الجوهرى : يا أبا عبد الله ما تقول فى مبشر الحلبى ؟ قال : ثقة ، قال : فأخبرنى مبشر ، عن عبد الرحمن بن العلاء بن اللجلاج، عن أبيه : أنه أوصى إذا دفن أن يقرأ عنده بفاتحة البقرة وخاتمتها، وقال : سمعت ابن عمر يوصى بذلك ، فقال له أحمد : فارجع وقل للرجل يقرأ

"แท้จริง ท่านอะหฺมัด ได้ห้ามชายตาบอด ทำการอ่านอัลกุรอานที่กุบูร โดยที่ท่านอะหฺมัดกล่าวแก่เขาว่า การอ่านอัลกุรอานที่กุบูรนั้นเป็นบิดอะฮ์ ดังนั้น มุหัมมัด บิน กุดามะฮ์ อัลเญาฮะรีย์ กล่าวกับท่านอะหฺมัดว่า โอ้ อบูอับดุลเลาะฮ์ (คือท่านอิมามอะหฺมัด) ท่านจะว่าอย่างไรเกี่ยวกับท่านมุบัชชิร อัลหะละบีย์ ? ท่านอะหฺมัดกล่าวว่า เขานั้นเชื่อถือได้ มุหัมมัด บิน กุดามะฮ์กล่าวว่า ท่านมุบัชชิรได้เล่าให้ฉันฟังโดยเอามา จากท่านอับดุรเราะห์มาน บิน อัลอะลาอ์ บิน อัลลัจลาจญฺ จากบิดาของเขาว่า แท้จริง บิดาของเขาได้ทำการสั่งเสียว่า เมื่อเขาได้ถูกฝังไปแล้ว ก็ให้ทำการอ่านช่วงแรกของซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์ และช่วงท้ายของมันที่สุสารของเขา และบิดาของเขากล่าวว่า ฉันได้ยินท่านอิบนุอุมัรได้ทำการสั่งเสียเรื่องดังกล่าวไว้ ดังนั้น ท่านอิมามอะหฺมัดจึงกล่าวแก่เขาว่า ท่านจงกลับไปบอกชาย(ตาบอด)ผู้นั้น ให้ทำการอ่านอัลกุรอาน(ที่กุบูร)ได้"

เกี่ยวกับสายรายงานถึงท่านอิบนุอุมัรนี้ มีข้อสังเกตุอยู่ 2 ประการ

ประการแรก คือสายรายงานนี้ ได้รับการยืนยันจากท่านอะหฺมัด โดยที่ได้รายงานโดยจำนวนหนึ่งจากบรรดาสานุศิษย์ของท่าน แต่ท่านอัลบานีย์ และผู้ยึดติดเขา ได้ทำการตำหนิสายรายงานนี้ โดยพิจารณาเพียงแค่สายรายงานเดียวเท่านั้น " คือท่านอัลบานีย์ได้ทำการถ่ายทอดสายรายงานจากหนังสือ อัร-รั๊วะหฺของท่านอิบนุกอยยิม โดยการรายงานของ ท่านอัลค๊อลลาล จาก อัลหุซัยน์ บิน อะหฺมัดอัลวัรร๊อก เล่าจาก อลี บิน มูซา อัลหัดดาด และท่านอัลบานีย์กล่าวว่า ท่านอัลหุซัยน์ บิน อะหฺมัด อัลวัรร๊อก และท่านอลี บิน มูซา อัลหัดดาดนั้น ไม่เป็นที่รู้จักสถานะภาพของเขา" สรุปจาก หนังสืออะหฺกาม อัลญะนาอิซฺ ของท่านอัลบานีย์ หน้า 243

เราขอกล่าวว่า ความจริงคำพูดของท่านอัลบานีย์ ต่อท่านอะหฺหมัด มีความผิดพลาดถึง 2 ประการ

1. คือท่าน อัลค๊อลลาล ได้รายงานไว้ในหนังสือ อัลอัมรฺ บิลมะอฺรูฟ วันนะฮ์ อะนิลมุงกัร หน้า 125 - 126 จากท่านอะหฺมัด อีกสายรายงานอื่นอีก ซึ่งท่าน อัลค๊อลลาล กล่าวว่า

أخبرنا أبو بكر بن صدقة قال : سمعت عثمان بن أحمد بن إبراهيم الموصلى قال : كان أبو عبد الله أحمد بن حنبل فى جنازة ومعه محمد بن قدامة...فذكره

"ท่านอบูบักร บิน ซ่อดะเกาะฮ์ได้บอกให้เราทราบ เขากล่าวว่า ฉันได้ยินอุษมาน บิน อะหฺมัด บิน อิบรอฮีม อัลเมาซิลีย์ กล่าวว่า อบูอับดุลเลาะฮ์ คือ ท่านอะห์มัด บิน หัมบัลพร้อมด้วยท่านมุฮัมมัด บิน กุดามะฮ์ แล้วเขาก็ได้ไปร่วมงานฝังศพของชายคนหนึ่ง .....(กล่าวรายงานเหมือนกับที่กล่าวมาแล้ว)"

เราขอกล่าวว่า ท่านอบูบักร บิน ซ่อดะเกาะฮ์นี้ คือ อะหฺมัด บิน มุหัมมัด บิน อับดิลลาฮ์ บิน ซ่อดะเกาะฮ์ เขาเป็นหนักจดจำหะดิษ ซึ่งท่าน อัดดาร่อกุตนีย์ กล่าวว่า "เขานั้น เชื่อถือได้ เชื่อถือได้" ดู หนังสือ ตารีค บุฆดาด เล่ม 5 หน้า 40

2. บรรดาสานุศิษย์ของท่าน อิมามอะหฺมัด บิน หัมบัล ที่ได้ทำการบันทึกมัซฮับของท่านอะหฺมัดนั้น เป็นผู้ที่รอบรู้ยิ่ง ต่อบรรดาสายรายงานต่างๆ เหล่านี้ และทั้งหมดก็ได้ทำการถ่ายทอดจากท่านอะหฺมัดว่า อนุญาติให้ทำการอ่านอัลกุรอานที่กุบูรได้

ประการที่สอง สายงานดังกล่าวต่อเนื่องกันจนถึงท่านอิบนุอุมัรซึ่งเป็นนักปราชญ์ของบรรดาซอฮาบะฮ์ ท่าน อัลฮัยษะมีย์ ได้กล่าวไว้ใน หนังสือ มัจญฺมะอ์ อัซซะวาอิดว่า

رواه الطبرانى فى الكبير ، ورجاله موثقون

" รายงานโดยท่านอัฏฏ๊อบรอนีย์ ไว้ในหนังสือ มั๊วะญัม อัลกะบีร และบรรดานักรายงานนั้น เชื่อถือได้ทั้งสิ้น" ดู เล่ม 3 หน้า 44

ท่านอิมามอันนะวาวีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัลอัซการ ของท่านว่า

وروينا فى سنن البيهقى بإسناد حسن أن إبن عمر إستحب ان يقرأ على القبر بعد الدفن أول سورة البقرة وخاتمتها

"เราได้รายงาน ไว้ใน สุนันอัลบัยฮะกีย์ ด้วยสายรายงานที่หะซัน ว่า แท้จริง ท่านอิบนุอุมัรนั้น ชอบที่จะให้อ่านอัลกุรอานในช่วงแรกของซูเราะฮ์อัลบะกอเราะฮ์ และช่วยท้ายของมันที่กุบูรหลังจากเสร็จสิ้นแล้ว" ดู อัลฟุตูฮาด อัรร๊อบบานียะฮ์ อะลา อัลอัซการอันนะวะวียะฮ์ เล่ม 4 หน้า 194

สำหรับ ท่าน มุบัชชิรนั้น เชื่อถือได้(ษิเกาะฮ์) และท่านอับดุรเราะหฺมาน บิน อะลาอ์ บิน อัลลัจลาจญฺนั้น ท่านอิบนุหิบบาน ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัษษิกอต(บรรดานักรายงานที่เชื่อถือได้) ดู เล่ม 7 หน้า 90

นักปราชญ์หะดิษชั้นแนวหน้า คือ ท่านยะหฺยา บิน มะอีน ก็มีทัศนะว่า อนุญาติให้อ่านอัลกุรอานที่กุบูรได้ ซึ่งก็เป็นแนวทางเดียวกับมัซฮับอิมามอะหฺมัด และด้วยหลักฐานเดียวกันนี้

ท่าน อับบาส อัดดูรีย์ กล่าวว่า

سألت يحيى بن معين عن القراءة عند القبر فقال : حدثنا مبشر بن اسماعيل الحلبى، عن عبد الرحمن بن العلاء بن اللجلاج، عن أبيه بأنه قال لبنيه : إذا أدخلتمونى قبرى ووضعتمونى فى اللحد ، فقولوا : بسم الله وعلى سنة رسول الله وسنوا على التراب سنا ، واقرؤا عند رأسى أول البقرة وخاتمتها فإنى رأيت ابن عمر يستحب ذلك

"ฉันได้ถาม ท่านยะหฺยา บิน มะอีน เกี่ยวกับเรื่องการอ่านอัลกุรอานที่กุบูร ท่านยะหฺยากล่าวว่า ได้บอกเล่าให้เราทราบโดย ท่านมุบัชชิร บิน อิสมาอีล อัลหะละบีย์ จากอับดุรเราะห์มาน บิน อัลอะลาอ์ บิน อัลลัจลาจญฺ จากบิดาของเขา ว่าแท้จริง บิดาของเขาได้กล่าว กับบุตรของเขาว่า เมื่อพวกท่านได้นำฉันเข้าไปในกุบูร และพวกท่านก็ได้วางฉันลงไปในหลุม ดังนั้น พวกท่านจงกล่าวว่า ด้วยพระนามของอัลเลาะฮ์ และบนแนวทางของร่อซูลุลเลาะฮ์ และพวกท่านจงปาดดินให้เรียบ แล้วพวกท่านจงอ่าน ช่วงแรกของซูเราะฮ์อัลบะกอเราะฮ์และช่วงท้ายของมันที่กุบูรช่วงศรีษะของฉัน เพราะแท้จริงฉันเห็นท่านอิบนุอุมัรรักชอบให้กระทำสั่งดังกล่าว" ดู ตารีค ยะหฺยา บิน มะอีน เล่ม 2 หน้า 415

รายงานจากท่านอิบนุอับบาส (ร.ฏ.) ท่านกล่าวว่า

مرّ النبى صلى الله عليه وسلم على قبرين فقال : إنهما ليعذبان وما يعذبان فى كبير. ثم قال : بلى أما أحدهما فكان يسعى بالنميمة، وأما الأخر فكان لا يستتر من بوله. قال : ثم أخذ عودا رطبا فكسره بإثنين ثم غرز كل واحد منهما على قبر ثم قال : لعله يخفف عنهما ما لم ييبسا

"ท่านนบี(ซ.ล.) ได้เดินผ่านสองกุบูร แล้วท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวว่า ทั้งสองกำลังถูกทำโทษ โดยที่ทั้งสองไม่ได้ถูกลงโทษเพราะบาปใหญ่ จากนั้น ท่านนบีกล่าวว่า แต่ว่าคนหนึ่งจากทั้งสองนั้น เป็นผู้ที่ชอบให้ร้ายคน และสำหรับอีกคนหนึ่ง เขาเป็นคนที่ปัสสาวะไม่สุด , ท่านอิบนุอับบาสกล่าวว่า หลังจากนั้น ท่านนบี(ซ.ล.)ได้เอากิ่งอินทผาลัมสดมา แล้วก็ฉีกออกเป็นสองส่วน จากนั้น ท่านนบี(ซ.ล.)ก็ปักมันทั้งสองลงบนกุบูร แล้วท่านนบีกล่าวว่า บางครั้งมันจะทำให้บรรเทา(จากการลงโทษ)จากทั้งสอง ตราบใดที่มันทั้งสอง(กิ่งอินทผาลัม)ยังไม่แห้ง" ดู ซอฮิหฺ อัลบุคอรีย์ หะดิษที่ 218 , ซอฮิหฺมุสลิม หะดิษที่ 292 , มุสนัด อิมามอะหฺมัด เล่ม 1 หน้า 225

ท่านอิมาม อัลค๊อฏฏอบีย์ กล่าวว่า "ในหะดิษนี้ ชี้ถึง การอนุญาติให้อ่านอัลกุรอานที่กุบูรได้ เนื่องจากว่า เมื่อการบรรเทาการลงโทษได้ถูกหวังจากมัยยิด ด้วยการตัสบีห์ของต้นไม้(อินทผาลัม) ดังนั้น การอ่านอัลกุรอานย่อมมีความหวังและมีศิริมงคลยิ่งใหญ่กว่า"

ท่านอิมามอันนะวาวีย์ได้กล่าวอธิบายว่า "บรรดาอุลามาอ์ถือว่าเป็นสุนัต กับการอ่านอัลกุรอานที่กุบูรเนื่องสาเหตุของหะดิษนี้ เพราะว่าเมื่อการบรรเทาโทษยังมีหวังจากการตัสบีหฺของกิ่งอินทผาลัมแล้ว แน่นอนว่า การอ่านอัลกุรอานย่อมมีความหวังมากกว่า" ดู ชัรหฺ ซอฮิหฺมุสลิม เล่ม 2 หน้า 204

อิบนุ อบี ชัยบะฮ์ ได้กล่าวรายงานไว้ว่า

حدثنا حفص بن غياث، عن المجالد، عن الشعبى قال : كانت الأنصار يقرأون عند الميت بسورة البقرة

"ได้เล่ากับเรา โดยหัฟซฺ บิน ฆอยยาษ จาก อัลมุญาลิด จากท่านอัชชะอฺบีย์ ท่านกล่าวว่า "บรรดาชาวอันซอร ได้ทำการอ่านอัลกุรอาน ที่มัยยิด ด้วยกับซูเราะฮ์อัลบะกอเราะฮ์ " ดู อัลมุซันนัฟ เล่ม 4 หน้า 236
และท่านค๊อลลาลได้รายงานจากสายรายงานเดียวกัน ด้วยคำว่า

كانت الأنصار إذا مات لهم ميت اختلفوا غلى قبره يقرأون عنده القرأن

"บรรดาชาวอันซอรนั้น เมื่อมีผู้ตายคนหนึ่งของพวกเขาเสียชีวิตลง พวกเขาก็จะทำการสลับกันไปที่กุบูรของผู้นั้น โดยที่พวกเขาจะทำการอ่านอัลกุรอานที่กุบูรของมัยยิดนั้น" ดู หนังสือ อัลอัมรฺ บิลมะอฺรูฟ วันนะฮ์ อะนิลมุงกัร หน้า 126

ในสายรายงานดังกล่าว มีท่าน "มุญาลิด บิน สะอีด" ซึ่งเขาผู้นี้ หะดิษดี โดยมีบรรดาสายรายงานและหะดิษมาใช้ในการสนับสนุนและมีน้ำหนัก ท่านมุสลิมได้นำเขามาเป็นผู้รายงานหะดิษไว้ในซอฮิหฺของท่านมุสลิมด้วย โดยรายงานพร้อมกับคนอื่น ไว้ใน เรื่อง ฏอล๊าก บท ผู้หญิงที่ถูกหย่าขาด ที่ไม่มีค่าเลี้ยงดูให้แก่นาง

ดังกล่าวนี้ คือผลงานการกระทำที่ได้รายงานมาจากบรรดาซอฮาบะฮ์ โดยที่บรรดานักหะดิษได้ผ่อนปรนในการรายงานด้วยกับสายรายงานเหล่านี้ ท่าน อามิร บิน ชะรอฮีล อัชชะอฺบีย์นี้ คือเป็น ตาบีอีนชั้นแนวหน้า ผู้มีเกียรติ อีกทั้ง เป็นผู้ได้รับความเชื่อถือเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป ท่านได้พบกับบรรดาซอฮาบะฮ์ระดับอวุโสมากมาย และท่านอัลอัจญฺลีย์กล่าวว่า "เขาได้ยินหะดิษจากบรรดาซอฮาบะฮ์ถึง 48 ท่าน" เมื่อเป็นเช่นนี้ คำกล่าวของท่านอัชชะอฺบีย์ที่ว่า "บรรดาชาวอันซอร..." ย่อมตีความได้ว่า พวกเขาคือชนส่วนมากจากบรรดาซอฮาบะฮ์และตาบิอีน - วัลลอฮุอะลัม

ท่านชัยค์ อัลอุษมานีย์ อัช-ชาฟิอีย์กล่าวว่า "บรรดาอุลามาอ์ได้ลงมติเห็นพร้องว่า การอิสติฆฟาร การขอดุอาอ์ การทำทาน การทำฮัจญฺ การปล่อยทาสนั้น เป็นผลประโยชน์แก่มัยยิด และผลบุญจะไปถึงเขา , และการอ่านอัลกุรอานที่กุบูรนั้น เป็นสุนัต" ดู เราะหฺมะตุลอุมมะฮ์ ฟี อิคติลาฟ อัลอุมมะฮ์ หน้า 92

ทัศนะของมัซฮับทั้ง 4

1. มัซฮับหะนะฟียะฮ์

ได้กล่าวระบุไว้ใน อัลฟะตาวา อัลฮินดียะฮ์ ว่า "เมื่อมัยยิดถูกฝังเรียบร้อยแล้ว สุนัตให้บรรดามุสลิมทำการนั่งที่กุโบรสักช่วงเวลาหนึ่งหลังจากฝังเสร็จ ด้วยขนาดเวลาที่อูฐถูกเชื่อดและเนื้อของมันได้แจกจ่ายไป โดยที่ให้พวกเขาทำการอ่านอัลกุรอานและขอดุอาอ์ให้แก่มัยยิด....การอ่านอัลกุรอานตามทัศนะของ ท่านมุหัมมัด (ร.ฮ.)นั้น ไม่ถือว่ามักโระฮ์ และบรรดาคณาจารย์ของเรา ได้ยึดเอาทัศนะคำกล่าวของเขา" ดู เล่ม 1 หน้า 166

ท่านอิบนุอาบิดีนได้กล่าวระบุไว้ในหนังสือ ร๊อดดุลมั๊วะหฺตาร ว่า "การนั่งอ่านอัลกุรอานที่กุโบรไม่เป็นมักโระฮ์ ตามทัศนะที่ถูกเลือกเฟ้นแล้ว" ดู เล่ม 2 หน้า 246

ได้มีการกล่าวระบุไว้ในหนังสือ อันนิยาบะฮ์ ชัรหฺ อัลฮิดายะฮ์ ว่า " การอ่านอัลกุรอานที่กุบูรนั้น ไม่เป็นไร แต่อย่านั่งบนกุโบร และอย่าเข้าไปในกุบูรแล้วอ่านอัลกุรอาน" ดู เล่ม 3 หน้า 306

2. มัซฮับมาลิกียะฮ์

อุลามาอ์มัซฮับมาลิกียะฮ์มีทัศนะว่า มักโระฮ์กับการอ่านอัลกุรอานที่กุบูร แต่บรรดาอุลามาอ์มัซฮับมาลิกียะฮ์ยุคหลังนั้น มีมติที่แน่นอนแล้วว่าให้กระทำได้ บ้างก็บอกว่าเป็นเรื่องที่ดี ทั้งนี้ หลังจากที่พวกเขาพบหลักฐานว่ามีซอฮาบะฮ์บางท่านได้สั่งเสียให้กระทำ

ท่านอัลลามะฮ์(ปรมจารย์) ชัยค์ อัดดัรเดร กล่าวว่า "บรรดาอุลามาอ์(มัซฮับมาลิกีย์)ยุคหลัง มีทัศนะว่า การอ่านอัลกุรอานที่กุบูร การซิกิร และฮะดียะฮ์ผลบุญให้แก่มัยยิดนั้น ถือว่าไม่เป็นไร และผู้ที่กระทำดังกล่าว ย่อมได้รับผลตอบแทนด้วย อินชาอัลเลาะฮ์" ดู อัชชัรหฺ อัลกะบีร ตีพิมพ์พร้อมกับ หาชียะฮ์ อัดดุซูกีย์ เล่ม 1 หน้า 423

ข้อควรระวัง

ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อิกติฏออ์ อัสซิรอต๊อลมุสตะกีม ว่า " อิมามมาลิกกล่าวว่า ฉันไม่รู้เลยว่ามีคนใดได้กระทำสิ่งดังกล่าว ดังนั้น จึงเป็นที่ทราบว่า ซอฮาบะฮ์ และตาบีอีนนั้น พวกเขาไม่ได้กระทำมัน" ดู เล่ม 2 หน้า 744

เราขอกล่าวว่า การที่ท่านอิมามมาลิก(ร.ฮ.)ไม่รู้นั้น ไม่ได้หมายความถึงการปฏิเสธการกระทำของบรรดาซอฮาบะฮ์และตาบิอีนทั้งหมด และการสรุปความเห็นของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ที่ว่า บรรดาซอฮาบะฮ์และตาบิอีนไม่เคยทำนั้น เป็นการขัดกับบรรดาตัวบทที่ได้มีการระบุไว้ ดังนี้ คือ

ท่าน อัลค๊อลลาล ได้นำเสนอรายงาน ว่า ได้เล่าให้ฉันทราบ โดยอบูยะหฺยา อันนากิด เขากล่าวว่า ได้เล่ากับเรา โดยซุฟยาน บิน มะเกี๊ยะอฺ เขากล่าวว่า ได้เล่ากับเรา โดยหัฟซฺ(บินฆอยยาษ) , จากมุญาลิด , จากท่านอัชชะอฺบีย์ เขากล่าวว่า " บรรดาชาวอันซอรนั้น เมื่อมีผู้ตายคนหนึ่งของพวกเขาได้เสียชีวิต พวกเขาก็จะทำการสลับกันไปที่กุบูร เพื่อพวกเขาทำการอ่านอัลกุรอานที่กุบูรของมัยยิดผู้นั้น" ดู หนังสือ อัลอัมรฺ บิลมะอฺรูฟ วันนะฮ์ อะนิลมุงกัร หน้า 126

ท่าน อัลค๊อลลาล ได้กล่าวว่า ได้เล่าให้ฉันทราบ โดยอิบรอฮีม บิน ฮาชิม อัลบะฆอวีย์ ซึ่งเขากล่าวว่า ได้เล่าให้ฉันทราบ โดยอับดุลเลาะฮ์ บิน ซินาน อบูมุหัมมัด ซึ่ง เขากล่าวว่า ได้เล่าให้เราทราบ โดยอัลฟัฏล์ บิน มูซา อัลชัยบานีย์ , จากชารีก , จากมันซูร , จากอัลมัรรีย์ ว่า แท้จริง ท่านอิบรอฮีม(อันนะค่าอีย์) กล่าวว่า "การอ่านอัลกุรอานที่กุบูรต่างๆ นั้น ไม่เป็นไร" ดู หนังสือ อัลอัมรฺ บิลมะอฺรูฟ วันนะฮ์ อะนิลมุงกัร หน้า 127

ดังนั้น คำกล่าวของท่านอัชชะอ์บีย์ ได้ชี้ให้เห็นว่า บรรดาซอฮาบะฮ์ได้กระทำการอ่านอัลกุรอานที่กุบูร และท่านอิบรอฮีม อันนะค่าอีย์ ก็เป็นอุลามาอ์อัตตาบิอีน ที่มีทัศนะให้กระทำได้

3. มัซฮับชาฟิอียะฮ์

ท่านอิมาม อันนะวาวีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัล-มัจญฺมั๊วะ ของท่านว่า "บรรดาอุลามาอ์ของเรากล่าวว่า สุนัตให้ผู้ที่ไปเยี่ยมกุบูร ทำการให้สลามแก่ชาวกุบูร , และให้เขาทำการขอดุอาอ์ให้แก่ผู้ที่เขาไปเยี่ยม และแก่ชาวกุโบรทั้งหมด , และถือเป็นการดียิ่ง ที่จะกล่าวให้สลามและขอดุอาอ์ด้วยกับสิ่งที่ได้ระบุไว้ในหะดิษ, และสุนัตให้ผู้ไปเยี่ยมกุบูร ทำการอ่านสิ่งที่ง่าย ๆ จากอัลกุรอานและทำการขอดุอาอ์ให้แก่เขาหลังจากเสร็จสิ้นการอ่าน ซึ่งอิมามอัช-ชาฟิอีย์ได้ระบุมันไว้(ในหนังสืออุมมฺ) และบรรดาสานุศิษย์ก็มีความเห็นพร้องกันต้องกัน" ดู เล่ม 5 หน้า 276

ท่านอิมามรอมลีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ นิฮายะตุลมั๊วะหฺตาจญฺ ว่า " สุนัตให้อ่านอัลกุรอานที่ง่าย ๆ ที่กุบูร" ดู เล่ม 3 หน้า 36 และท่านอิมามรอมลีย์กล่าวอีกว่า "ให้เขาทำการอ่านอัลกุรอานและขอดุอาอ์หลังจากการอ่านอัลกุรอานของเขา และการขอดุอาอ์นั้นเป็นผลประโยชน์แก่มัยยิด โดยที่การขอดุอาอ์ถัดจากการอ่านอัลกุรอานนั้น ทำให้ถูกตอบรับเร็วมากกว่า" ดู เล่ม 3 หน้า 37

ข้อควรระวัง

ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อิกติฏออ์ อัลซิรอต๊อลมุสตะกีม ว่า" ไม่ได้ถูก(รายงาน)มาสักคำกล่าวเดียวจากอิมามอัช-ชาฟิอีย์ เกี่ยวกับปัญหาประเด็นนี้(คือการอ่านอัลกุรอานที่กุบูร) และดังกล่าวนั้น เพราะว่ามันเป็นบิดอะฮ์ตามทัศนะของอิมามชาฟิอีย์" ดู เล่ม 2 หน้า 734

เราขอกล่าวว่า ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ กล่าวอย่างผิดพลาดต่อทัศนะของอิมามอัช-ชาฟิอีย์ (ร.ฮ.) และทำการปฏิเสธสายรายงานที่ถูกรับรองจากอิมามชาฟิอีย์ และทำการกล่าวพาดพิงทัศนะถึงอิมามชาฟิอีย์ โดยที่ท่านอิมามชาฟิอีย์ไม่ได้เคยกล่าวไว้เช่นนั้นเลย(คือกล่าวว่าบิดอะฮ์)

สำหรับสิ่งที่ได้มีการยืนยันระบุจากอิมามชาฟิอีย์(ร.ฏ.) นั้น คือ ท่าน อัลค๊อลลาล ได้กล่าวรายงานว่า

أخبرنى رَوح بن الفرج قال : سمعت الحسن بن الصبّاح الزعفرانى يقول : سألت الشافعى عن القراءة عند القبور، فقال : لا بأس به

" ได้บอกเล่าให้ฉันทราบ โดยท่าน เร๊าห์ บิน อัลฟะร๊อจ ซึ่งได้กล่าวว่า ฉันได้ยินท่าน อัลหุซัยน์ บิน อัศศ๊อบบาหฺ อัซซะฟะรอนีย์ กล่าวว่า ฉันได้ถามอิมามอัช-ชาฟิอีย์เกี่ยวกับการอ่านอัลกุรอานที่กุบูร ดังนั้น ท่านอัช-ชาฟิอีย์ตอบว่า "การอ่านอัลกุรอานที่กุบูรนั้น ไม่เป็นไร" ดู หนังสือ อัลอัมรฺ บิลมะอฺรูฟ วันนะฮ์ อะนิลมุงกัร หน้า 126

และบรรดาอุลามาอ์ชั้นนำในมัซฮัลอัช-ชาฟิอีย์ ได้กล่าวยืนยันว่า มีตัวบทระบุอย่างชัดเจน จากอิมามชาฟิอีย์ ว่า อนุญาติให้อ่านอัลกุรอานที่กุบูรได้อย่างไม่ต้องสงสัย ซึ่งอิมาม อันนะวาวีย์ได้กล่าวยืนยันไว้ว่า อิมามอัชชาฟิอีย์ได้กล่าวระบุ(การอนุญาติอ่านอัลกุรอานที่กุบูร)ไว้ในหนังสืออุมมฺ" (ดู หนังสือมัจญฺมั๊วะ เล่ม 5 หน้า 286) และอิมามอิบนุหะญัรอัลฮัยตะมีย์ (ดู อัลฟาตาวา อัลกุบรอ เล่ม 2 หน้า 27)

และหากเรากลับไปดูหนังสืออัลอุมมฺของอิมามอัช-ชาฟิอีย์ จากเรื่อง "อัลญะนาอิซฺ" ในบทย่อยเกี่ยวกับเรื่อง "จำนวนการห่อมัยยิด" ซึ่งท่านอิมามอัช-ชาฟิอีย์กล่าวระบุไว้ว่า

وَأُحِبُّ لَوْ قُرِئَ عِنْدَ الْقَبْرِ، وَدُعِيَ لِلْمَيِّتِ وَلَيْسَ فِي ذَلِكَ دُعَاءٌ مُؤَقَّتٌ

"ฉันรัก หากมีการอ่านอัลกุรอานที่กุบูร และมีการขอดุอาอ์ให้แก่มัยยิด(ผู้ตาย) และในเรื่องดังกล่าวนั้น ไม่มีการขอดุอาอ์ที่ถูกกำหนดเวลาเอาไว้ตายตัว(คือขอดุอาให้ผู้ตายได้ทุกเวลา)"

มีบางคนที่ไม่ค่อยจะมีความรู้มากนัก ได้พยายามกล่าวอ้างทัศนะของอิมามอัช-ชาฟิอีย์ที่ว่า ผลบุญการอ่านอัลกุรอานไม่ถึงมัยยิด เพื่อจะแอบอ้างว่าเมื่อผลบุญไม่ถึง การอ่านอัลกุรอานที่กุบูรก็ไร้ความหมาย ซึ่งคำกล่าวนี้ เป็นความเข้าใจที่ปราศจากความเข้าใจในมัซฮับอิมามอัช-ชาฟิอีย์

ท่านอิมามอันนะวาวีย์ ได้กล่าวไว้ใน หนังสือ อัลอัซฺการของท่านว่า

أجمع العلماء على أن الدعاء للأموات ينفعهم ويَصلُهم......واختلف العلماء في وصول ثواب قراءة القرآن، فالمشهور من مذهب الشافعي وجماعة أنه لا يَصل‏.‏ وذهب أحمدُ بن حنبل وجماعةٌ من العلماء وجماعة من أصحاب الشافعي إلى أنه يَصل، والاختيار أن يقولَ القارئُ بعد فراغه‏:‏ ‏"‏اللهمّ أوصلْ ثوابَ ما قرأته إلى فلان، واللّه أعلم‏

"บรรดาปวงปราชน์ได้ลงมติเห็นพร้องว่า แท้จริง การขอดุอาอ์ให้แก่บรรดาผู้ตายนั้น มันเป็นผลประโยชน์แก่พวกเขา และถึงพวกเขา.....และบรรดาอุลามาอ์ได้ขัดแย้งกันเกี่ยวกับเรื่อง ผลบุญการอ่านอัลกุรอานถึงผู้ตาย ดังนั้น คำกล่าวที่เลื่องลือ จากมัซฮับอิมามอัช-ชาฟิอีย์และกลุ่มหนึ่งนั้น คือ ผลบุญไม่ถึงผู้ตาย(หากอ่านอัลกุรอานเพียงอย่างเดียวโดยไม่ขอดุอาตามท้าย) และท่านอิมามอะหฺมัด บิน หัมบัล พร้อมด้วยปวงปราชญ์กลุ่มใหญ่ และกลุ่มหนึ่งจากบรรดาสานุศิษย์ของอิมามอัช-ชาฟิอีย์ได้ กล่าวว่า แท้จริง ผลบุญดังกล่าวถึงผู้ตาย และทัศนะที่ได้รับการแฟ้นแล้ว คือให้ผู้อ่านกล่าวดุอาอ์หลังจากเสร็จสิ้นจากการอ่านอัลกุรอานว่า "โอ้อัลเลาะฮ์ ขอได้โปรดทำให้ผลบุญของสิ่งที่ฉันได้อ่านมันไปแล้วนั้น ไปถึงคนนั้นๆ (..........) ด้วยเทอญ (ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งกันเอง วัลลอฮุอะลัม " ดู อัลฟุตูฮาด อัรร๊อบบานียะฮ์ อะลา อัลอัซการอันนะวะวียะฮ์ เล่ม 4 หน้า 194

ดังนั้น คำกล่าวที่ว่า "คำกล่าวที่เลื่องลือ จากมัซฮับอิมามอัช-ชาฟิอีย์.." นั้น ผู้อธิบายหนังสือ ชัรหฺ อัรเราฏ์ กล่าวว่า มัน หมายถึง การเหนียตฮะดียะฮ์ผลบุญการอ่านให้แก่มัยยิดโดยไม่ได้ทำการขอดุอาอ์ให้นั้น" ดู อัลฟุตูฮาด อัรร๊อบบานียะฮ์ อะลา อัลอัซการอันนะวะวียะฮ์ เล่ม 4 หน้า 194

ซึ่งหมายถึงว่า ผลบุญการอ่านอัลกุรอานจะมีประโยชน์และถึงแก่ผู้ตายนั้น ไม่ใช่ด้วยการเหนียตฮะดียะฮ์ให้เท่านั้น เพราะมันจะไม่ถึงตามทัศนะของอิมามอัช-ชาฟิอีย์ แต่ต้องขอดุอาอ์ให้แก่มัยยิดด้วย ซึ่งในการขอดุอาอ์นั้น เราจะขอต่ออัลเลาะฮ์ให้ผลบุญการอ่านของเราถึงมัยยิดนั้น ย่อมกระทำได้อย่างไม่มีปัญหา เนื่องจากการขอดุอาอ์นั้น เป็นสื่อที่ทำให้ผลบุญไปถึงมัยยิดตามทัศนะของอิมามอัช-ชาฟิอีย์ ไม่ใช่การเหนียตฮะดียะฮ์ตัวการอ่านอัลกุรอานที่ผู้อ่านได้อ่านเองเพียงอย่างเดียว

ท่านอิบนุกุดามะฮ์กล่าวอีกว่า

وقال الشافعي : ما عدا الواجب والصدقة والدعاء والاستغفار , لا يفعل عن الميت , ولا يصل ثوابه إليه ; لقول الله تعالى : وأن ليس للإنسان إلا ما سعى

"ท่านอิมามชาฟิอีย์กล่าวว่า สิ่งที่อื่นจาก วายิบ(เช่นฮัจญฺ ศีลอด) การทำทาน(คุณอะสันบอกได้ไหมว่าการเลี้ยงอาหารไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งจากการทำทาน) การขอดุอาอ์ และการอิสติฆฟาร นั้น จะไม่ถูกทำแทนให้กับมัยยิด และผลบุญก็จะไม่ไปถึงเขา เพราะอัลเลาะฮ์ทรงตรัสไว้ว่า"ไม่มีให้กับมนุษย์นอกจากสิ่งที่เขาได้กระทำไว้เท่านั้น" ดู หนังสือ อัลมุฆนีย์ เล่ม3 หน้า373

ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ อิมามอันนะวาวีย์จึงกล่าวไว้ในหนังสืออัลอัซฺการว่า " และที่ได้เลือกเฟ้นแล้วนั้น คือให้ผู้อ่านกล่าวดุอาอ์หลังจากเสร็จจากการอ่านอัลกุรอานว่า "โอ้อัลเลาะฮ์ โปรดจงทำให้ผลบลสิ่งที่ฉันได้อ่านมันไปแล้วนั้น ไปถึงคนนั้นๆ(..........) วัลลอฮุอะลัม" ดู อัลฟุตูฮาด อัรร๊อบบานียะฮ์ อะลา อัลอัซการอันนะวะวียะฮ์ เล่ม 4 หน้า 194

และอาจารย์ของอิมามอันนะวาวีย์ คือ ท่านอิบนุ อัศศ่อลาหฺ กล่าวว่า " ผู้ขอดุอาควรกล่าวว่า ,โอ้อัลเลาะฮ์ โปรดทรงทำให้ผลบุญของสิ่งที่ฉันได้อ่านมันไปแล้วนั้น ไปถึงผู้ตายคนนั้นๆ (..........) , โดยที่เขาทำให้การอ่านอัลกุรอาน แล้วขอดุอาอ์(ให้ถึงผู้ตาย) ไม่ว่าผู้ตายจะอยู่ใกล้หรือไกลก็ตาม และต้องยาเกนมั่นใจในการที่มัยยิดได้รับผลประโยชน์ดังกล่าว(จากการขอดุอาอ์)นั้น" ดู หนังสือ มุฆนีย์ อัลมั๊วะตาจญฺ เล่ม 4 หน้า 116 - 117

และเมื่ออิมามอัช-ชาฟิอีย์ได้ระบุไว้ในหนังสืออัลอุมม์ว่า "ฉันรัก หากถูกอ่านอัลกุรอานที่กุบูร และถูกขอดุอาอ์ให้แก่ผู้ตาย และในสิ่งดังกล่าวมานั้น ไม่มีการขอดุอาอ์ที่ถูกกำหนดเวลาเอาไว้" ท่านอิบนุหะญัร อัลฮัยตามีย์ จึงได้กล่าวอธิบายว่า " และให้เขาทำการอ่านอัลกุรอานที่ง่ายๆ แก่เขา(ที่กุบูร)และทำการขอดุอาอ์ถัดจากการอ่านโดยที่หลังจากเขาได้หันหน้าไปทางกิบละฮ์ เพราะการดุอาอ์หลังจากอ่านอัลกุรอานนั้น มีความหวังในการตอบรับมากกว่า " ดู หนังสือ ตั๊วะหฺฟะตุลมั๊วะห์ตาจ เล่ม 1 หน้า 602 ตีพมพ์ที่ อัษษะกอฟะฮ์ อัดดีนียะฮ์

4. มัซฮับ อัลหะนาบิละฮ์

ท่าน อัลมัรดาวีย์ ได้กล่าวระบุไว้ในหนังสือ อัลอินซอฟ กล่าวว่า "การอ่านอัลกุรอานที่กุบูรไม่เป็นมักโระฮ์ ตามในสายรายงานซอฮิหฺที่สุด(ซึ่งมาจากอิมามอะหฺมัด) และ นี้ก็คือ มัซฮับ ที่(ท่านอิบนุมุฟลิหฺ) ได้กล่าวไว้ใน หนังสืออัลฟุรั๊วะอ์ และได้ระบุเรื่องนี้ไว้ในมัซฮับ , ผู้อธิบายได้กล่าวว่า นี้คือคำกล่าวที่เลื่องลือจากอิมามอะหฺมัด" ดู เล่ม 2 หน้า 532

ท่านอิบนุมุฟลิหฺ กล่าวไว้ในหนังสือ อัลมุบเดี๊ยะอ์ ชัรหฺ อัลมุกเนี๊ยะอ์ ว่า " การอ่านอัลกุรอานที่กุบูร ไม่เป็นมักโระฮ์ ตามสองสายรายงานที่ซอฮิหฺยิ่งที่รายงานจากท่านอิมามอะหฺมัด และ นี้ก็คือ มัซฮับ(ของอิมามอะหฺมัด)" ดู เล่ม 2 หน้า 281

คำพูดต่างๆที่ถูกรายงานเกี่ยวกับการอ่านอัลกุรอานที่กุบูร

ท่าน อัซฺซ่ะฮ่ะบีย์ ได้กล่าว ประวัติท่าน อบูญะฟัร อัลฮาชิมีย์ อัลหัมบาลีย์ ชัยค์มัซฮับอัลหะนาบิละฮ์ (เสียชีวิตปี 470) ว่า " และเขาได้ถูกฝังเคียงข้างกุบูรของท่านอิมามอะหฺมัด , และบรรดาผู้คนได้ประจำอยู่ที่กุบูรของเขาเป็นเวลานาน จนกระทั้งกล่าวกันว่า อัลกุรอานได้ถูกอ่านจบ ที่กุบูรของเขา ถึง 10000 จบด้วยกัน" ดู หนังสือ ซิยัร อะลาม อัลนะบะลาอ์ เล่ม 18 หน้า 547

ท่าน อัซฺซะฮะบีย์ ได้กล่าว ถึงท่าน อัลค่อฏีบ อัลบุฆดาดีย์ ว่า " ท่านอัลคอฏีบ เป็น อิมามที่โดดเด่น เป็นอัลลามะฮ์ เป็นมุฟตี เป็นนักจำหะดิษที่เชี่ยวชาญ เป็นนักหะดิษแห่งสมัยนั้น.....ท่านอิบนุ ค๊อยรูน กล่าวว่า ท่านอัลคอฏีบได้เสียชีวิตในช่วงสาย....ได้มีบรรดานักปราชญ์ฟิกห์และบรรดาผู้คนมากมาย ได้ทำการติดตามส่งญะนาซะฮ์ท่านอัลค่อฏีบ และแบกไปยัง ญาเมี๊ยะอ์ อัลมันซูร โดยที่มีผู้คนกล่าวประกาศก้องว่า นี้คือผู้ที่ปกป้องการโกหกต่อท่านนบี(ซ.ล.) และนี้คือผู้ที่จำหะดิษของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) และได้ถูกอ่านอัลกุรอานหลายจบด้วยกันที่กุบูรของเขา" ดู หนังสือ ซิยัร อะลาม อัลนะบะลาอ์ เล่ม 13 หน้า 584

ท่านอัซฺซะฮะบีย์ ได้กล่าวไว้ใน หนังสือ ตารีค อัลอิสลาม ว่า " ท่านอัศศิละฟีย์กล่าวว่า ท่านอัลมุตะมิน อัศศาญีย์ได้บอกเล่าแก่ฉัน ในวันศุกร์ที่ 2 หลังจากการเสียชีวิตของ ท่านอบูมันซูร - คือ ท่านมุหัมมัด บิน อะหฺมัด บิน อะลี อัลคอยยาฏ (เสียชีวิตปีที่ 499) - ว่า " ในวันนั้น บรรดาผู้คนได้ทำการอ่านอัลกุรอานจบ ที่กุบูรของเขาถึง 221 จบ กล่าวคือ พวกเขาได้ทำการอ่านอัลกุรอานจนจบซูเราะฮ์ อัลอิลาศ (กุลฮุวัลลอฮ์) เพราะพวกเขาก็จะทำการรวมตัวกัน แล้วทำการขอดุอาอ์ถัดจากทุกๆการอ่านจบเล็กน้อย"

ท่านอัซฺซะฮะบีย์กล่าวถึงประวัติของ ท่านอิบนุ อัลคอซิบะฮ์ ว่า " เขาคือ ชัยค์ อิมาม นักหะดิษ นักจำหะดิษ เป็นผู้ที่พูดจริง เป็นแบบอย่าง และศิริมงคลแก่บรรดานักหะดิษ...เขาได้เสียชีวิตในวันที่ 2 เดือนรอบิอุลเอาวัล ปี 489 ฮ.ศ. ญะนาซะฮ์ของเขานั้นเป็นที่โดดเด่น และอัลกุรอานได้ถูกอ่านจบที่กุบูรของเขานั้น กับหลายจบด้วยกัน" ดู หนังสือ ซิยัร อะลาม อัลนะบะลาอ์ เล่ม 14 หน้า 176

จากประวัติของบรรดานักปราชน์หะดิษที่ได้หยิบยกกล่าวมาแล้วนั้น เราจะพบว่า การกระทำของพวกเขาและบรรดาอุลามาอ์ที่อยู่ในแต่ละสมัยของพวกเขานั้นได้ทำการอ่านอัลกุรอานที่กุบูรกันหลายๆ จบด้วยกัน แม้กระทั้งนักหะดิษที่มีคุณธรรม บรรดาผู้คนก็ทำการอ่านอัลกุรอานให้กับพวกเขาหลายจบด้วยกัน จนกระทั้งถึง 10000 จบ ซึ่งการกระทำของพวกเขาเหล่านั้น เป็นการกระทำของผู้ที่ไม่เข้าใจศาสนาอิสลามกระนั้นหรือ? และบรรดาพ่อแม่ของเราก็ไม่ใช่จะเป็นผู้ที่มีความรู้มากนัก รู้ศาสนาเพียงแค่เอาตัวรอดได้เท่านั้นเอง และเมื่อพวกเขาได้เสียชีวิต พวกเราไม่มีสิทธิ์ที่จะอ่านอัลกุรอานเพื่อุทิศเป็นผลบุญให้พวกบิดามารดาของพวกเราเลยหรือนั้นหรือ? ทั้งที่บรรดาอุลามาอ์ผู้ทรงความรู้ ยังถูกอ่านให้ 10000 จบ แล้วบิดามารดาของเรานั้นไม่ต้องการความช่วยเหลือมากไปกว่าบรรดาอุลามาอ์กระนั้นหรือ? การอ่านอัลกุรอานให้แก่มัยยิดในช่วง 7 วันนั้น เป็นสิ่งที่สมควรกระทำ เนื่องจากมัยยิดกำลังถูกมะลาอิเกาะฮ์สอบถามในช่วงนั้น ดังนั้น การทำบุญเลี้ยงอาหารเพื่อเป็นทานซอดาเกาะฮ์ การอ่านอัลกุรอานและขออุดาอ์อุทิศส่วนกุศลไปให้ในช่วง 3 วัน หรือ 7 วันนั้นย่อมเป็นประโยชน์แก่ผู้ตาย ส่วนประเด็นข้อขัดแย้งที่ว่าผลบุญจะถึงผู้ตายหรือไม่นั้น? เราก็ต้องพูดกันด้วยหลักฐานและเราจะรู้อย่างชัดเจนเมื่อเราได้ตายไปแล้ว แต่มันก็คงเป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่คนตายไปแล้ว จะกลับมาบอกว่าผลบุญนั้นถึงฉันหรือไม่ก็ไม่ได้? ซึ่งเหล่านี้จึงต้องอาศัยหลักฐานและหลักการที่ชัดเจนจึงจะรู้ถึงึความเป็นจริง

ท่าน อัลหาฟิซฺ อิบนุ อัลร่อญับ กล่าวว่า " ได้รายงานโดยท่านญะฟัร อัล-คุลดีย์ เขากล่าวว่า ได้เล่ามให้เราทราบโดยอัลอับบาส บิน ยะกูบ บิน ซอลิหฺ อัลอัมบารีย์ ว่า ฉันได้ยินบิดาของฉันกล่าวว่า ส่วนหนึ่งจากบรรดาผู้มีคุณธรรม(ซอลิฮีน)ได้ฝันเห็นบิดาของเขา ดังนั้น บิดาของเขาได้กล่าวแก่เขาว่า โอ้ลูกของฉัน เหตุใดพวกท่านถึงตัดขาดการฮะดียะฮ์มอบผลบุญไปถึงเรา เขากล่าว(กับบิดา)ว่า โอ้บิดาของฉัน บรรดาผู้ตายนั้นรู้ถึงการฮะดียะฮ์(การมอบผลบุญให้)จากคนเป็นด้วยหรือ? บิดาของเขากล่าวว่า โอ้ลูกเอ๋ย หากแม้นว่าไม่มีคนเป็นทั้งหลาย แน่แท้ว่า บรรดาผู้ที่ตายก็จะพินาศ" ดู อิตหาฟ อัศศาดะฮ์ อัลมุตตะกีน ของท่านอัซซะบีดีย์ เล่ม 10 หน้า 372

ดังนั้น การอ่านอัลกุรอานที่กุบูร จึงเป็นประเด็นข้อปลีกย่อยทางฟิกห์ที่ขัดแย้งกันในหมู่บรรดานักปราชญ์ ซึ่งไม่ใช่เป็นประเด็นในเรื่องอากิดะฮ์จนเอาไปโยงกันอย่างสับสนไปหมด โดยนับว่าเป็นการเลยเถิดในการต่อต้านเรื่องการอ่านอัลกุรอานให้ผู้ตายนั้น มันเป็นการญิฮาด(ต่อสู้) ที่ผิดสมรภูมิ และมันเป็นการแอบอ้างการต่อสู้กับผู้ที่ไม่ใช่เป็นศัตรู!!!

และหลักฐานการอ่านอัลกุรอานให้แก่มัยยิดนั้น ก็ไม่เคยมีระบุห้ามจากอัลกุรอาน จากซุนนะฮ์ และจากคำกล่าวห้ามหะรอมจากบรรดาอุลามาอ์มัซฮับทั้ง 4 เลย ดังนั้น คนบางกลุ่มได้อาจหาญทำการหุกุ่มพี่น้องมุสลิมด้วยกันว่า การอ่านอัลกุรอานให้กับผู้ตายนั้นเป็นสิ่งที่หะรอมบิดอะฮ์ได้อย่างไร? ในเมื่อไม่มีอุลามาอ์ท่านใดเคยกล่าวอย่างนั้น

ผู้อวดรู้บ้านเราบางคนถึงกับตัดสินผู้ที่อ่านอัลกุรอานให้กับผู้ตายว่ากำลังเผาผู้ตาย ผมไม่ทราบจริงๆ ว่าเขาเอาหลักฐานมาจากใหน? พร้อมกับอ้างซุนนะฮ์แบบไร้ความจริงและเป็นเท็จต่ออัลกรุอานและซุนนะฮ์ของท่านนบี(ซ.ล.) วัลอิยาซุบิลลาฮ์

และที่ผมได้นำเสนอไปนั้น เราจะพบว่า ท่านอิบนุอุมัร(ร.ฏ.)ซอฮาบะฮ์ผู้เคร่งครัดในซุนนะฮ์ของร่อซูลุลเลาะฮ์ก็ยอมรับในเรื่องดังกล่าว บรรดาชาวอันซอรก็กระทำการอ่านอัลกุรอานที่กุบูรเพื่อเป็นผลประโยชน์แด่ผู้ตาย และท่านอิมามอะหฺมัด ซึ่งเป็นหนึ่งในอุลามาอ์สะลัฟผู้ยึดการตามร่องรอยจากสะลัฟมากที่สุดก็ยอมรับและยกเลิกทัศนะเดิมเมื่อทราบว่าท่านอิบนุอุมัรได้กระทำ และก็มีบรรดาอุลามาอ์สะลัฟและคอลัฟมากมายได้ให้การยอมรับในเรื่องดังกล่าว เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้ที่มีทัศนะไม่เห็นด้วย ก็สมควรใจกว้างในเรื่องของประเด็นข้อปลีกย่อย ไม่สมควรกล่าวว่าบิดอะฮ์หะรอมแก่อีกฝ่ายหนึ่ง แต่สมควรชี้แจงว่ามันมีสองทัศนะและทำการให้น้ำหนักสิ่งที่ตนเห็นว่าอันใดที่เป็นทัศนะที่มีน้ำหนัก โดยไม่ไปละเมิดหุกุ่มผู้อื่น ซึ่งหากไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมเป็นการละเมิดในเรื่องศาสนา และนั่นก็ไม่ใช่แบบฉบับของสะละฟุศศอลิหฺและอุลามาอ์ยุคคอลัฟที่มีคุณธรรม วัลลอฮุอะลัม

ค้นคว้าและเรียบเรียง โดย อัล-ฟารูก

ตรวจทาน โดย ท่าน อ. กอเซ็ม โมฮัมมัดอาลี

คัดลอกจากเว็บไซต์ www.sunnahstudent.com

สถิติบางอย่างที่แปลกใน อัล-กุรอาน

จากผลการวิจัยในเชิงวิทยาศาสตร์ที่กระทำกับกุรอานในยุคของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนี้ ยิ่งเป็นการตอกย้ำถึงความมหัศจรรย์ของกุรอาน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเองเป็นผู้พิสูจน์ถึงสัจธรรมที่มีกล่าวในกุรอาน

ดังนั้นอัลลอฮฺจึงได้ท้าทายมนุษย์และญินให้สร้างผลงานที่เทียบเท่ากุรอาน ดังซูเราะที่ 17 ( บะนีอิสรออีล ) อายะฮฺ ที่ 88

ความว่า "จงประกาศเถิด มาตรแม้นมนุษย์และญินรวมกันซึ่งจะนำมาสิ่งที่เหมือนอัลกุรอานนี้ แน่นอนพวกเขาไม่สามารถนำมาสิ่งที่เหมือนนั้นได้เลย แม้พวกเขาต่างคนต่างช่วยเหลือกันก็ตาม"

ต่อไปนี้เป็นผลการวิเคราะห์กุรอานในบางแง่มุม จากการวิเคราะห์เชิงสถิติของดร.ตาริค อัล ซูวัยดัน ( Dr. Tariq Al-Suwaidan ) ซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มอิควาน อัลมุสลิมูน( Muslim Brotherhood:Ikhwan Al-Muslimoon ) แห่งซาอุดีอาระเบีย

คำ ความหมาย จำนวนครั้งที่นับได้ในกุรอาน

Al-Dunya โลกนี้ 115

Al-Akhira โลกหน้า 115

Al-Malaikah มลาอิกะฮฺ 88

Al-Shayateen ชัยฏอน 88

Al-Hayat การมีชีวิต 145

Al-Maout การตาย 145

Al-Rajul ผู้ชาย 24

Al-Marha ผู้หญิง 24

Al-Shahar เดือน 12

Al-Yaom วัน 365

Al-Bahar ทะเล 32*

Al-Bar แผ่นดิน 13*

เราจะเห็นถึงตัวเลขที่เป็นคู่ ๆ ( เซาไจม : zawgyme ) ที่แปลกมากคือคู่สุดท้าย ทะเล ( น้ำ ) กับแผ่นดิน ที่มีเครื่องหมายดอกจันอยู่ ตัวเลข 32 กับ 13 วิเคราะห์ง่าย ๆ ดังนี้

ทะเล + แผ่นดิน = 32 + 13 =45

เพราะฉะนั้น อัตราส่วนร้อยละของทะเลคือ (32*100) / 45 = 71.1111

อัตราส่วนร้อยละของแผ่นดินคือ (13*100) / 45 = 28.8888

นี่คือค่าอัตราส่วนระหว่าง น้ำกับแผ่นดินของโลกเราที่ทุกคนทราบเป็นอย่างดีแล้ว ( allah hu akbar ) ...
เมื่ออ่านแล้ว ท่านได้ข้อคิดอะไรกันบ้าง ??

ที่มาhttp://www.muslimcool.com/forum/data/0061-1.html

Jumaat, 20 Jun 2008

اليف لام تعريف شمسية

سورة البقرة 1-16

(1) الم

(2) ذَلِكَ الْكِتَابُ لاَ رَيْبَ فِيهِ هُدًى لِّلْمُتَّقِينَ

(3) الَّذِينَ يُؤْمِنُونَ بِالْغَيْبِ وَيُقِيمُونَ الصَّلاةَ وَمِمَّا رَزَقْنَاهُمْ يُنفِقُونَ

(4) والَّذِينَ يُؤْمِنُونَ بِمَا أُنزِلَ إِلَيْكَ وَمَا أُنزِلَ مِن قَبْلِكَ وَبِالآخِرَةِ هُمْ يُوقِنُونَ

(5) أُوْلَـئِكَ عَلَى هُدًى مِّن رَّبِّهِمْ وَأُوْلَـئِكَ هُمُ الْمُفْلِحُونَ

(6) ‏ إِنَّ الَّذِينَ كَفَرُواْ سَوَاءٌ عَلَيْهِمْ أَأَنذَرْتَهُمْ أَمْ لَمْ تُنذِرْهُمْ لاَ يُؤْمِنُونَ

(7) خَتَمَ اللّهُ عَلَى قُلُوبِهمْ وَعَلَى سَمْعِهِمْ وَعَلَى أَبْصَارِهِمْ غِشَاوَةٌ وَلَهُمْ عَذَابٌ عظِيمٌ

(8) وَمِنَ النَّاسِ مَن يَقُولُ آمَنَّا بِاللّهِ وَبِالْيَوْمِ الآخِرِ وَمَا هُم بِمُؤْمِنِينَ

(9) يُخَادِعُونَ اللّهَ وَالَّذِينَ آمَنُوا وَمَا يَخْدَعُونَ إِلاَّ أَنفُسَهُم وَمَا يَشْعُرُونَ

(10) فِي قُلُوبِهِم مَّرَضٌ فَزَادَهُمُ اللّهُ مَرَضاً وَلَهُم عَذَابٌ أَلِيمٌ بِمَا كَانُوا يَكْذِبُونَ

(11) وَإِذَا قِيلَ لَهُمْ لاَ تُفْسِدُواْ فِي الأَرْضِ قَالُواْ إِنَّمَا نَحْنُ مُصْلِحُونَ

(12) أَلا إِنَّهُمْ هُمُ الْمُفْسِدُونَ وَلَـكِن لاَّ يَشْعُرُونَ

(13) وَإِذَا قِيلَ لَهُمْ آمِنُواْ كَمَا آمَنَ النَّاسُ قَالُواْ أَنُؤْمِنُ كَمَا آمَنَ السُّفَهَاء أَلا إِنَّهُمْ هُمُ السُّفَهَاء وَلَـكِن لاَّ يَعْلَمُونَ

(14) وَإِذَا لَقُواْ الَّذِينَ آمَنُواْ قَالُواْ آمَنَّا وَإِذَا خَلَوْاْ إِلَى شَيَاطِينِهِمْ قَالُواْ إِنَّا مَعَكْمْ إِنَّمَا نَحْنُ مُسْتَهْزِئُونَ

(15) اللّهُ يَسْتَهْزِئُ بِهِمْ وَيَمُدُّهُمْ فِي طُغْيَانِهِمْ يَعْمَهُونَ

(16) أُوْلَـئِكَ الَّذِينَ اشْتَرُوُاْ الضَّلاَلَةَ بِالْهُدَى فَمَا رَبِحَت تِّجَارَتُهُمْ وَمَا كَانُواْ مُهْتَدِينَ